Posts Tagged ช่างภาพ

ช่างภาพมือโปร แนะมือใหม่ ที่ใช้ DSLR

Tuesday, December 23rd, 2014

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างกล้องดิจิตอลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แถมยังมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะกล้องดิจิตอลประเภท D-SLR จนทำให้ใครหลายคนโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา หันมาสนใจและใช้กล้องประเภทนี้กันมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาและพบได้บ่อยครั้ง คือ มือใหม่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อกล้องประเภทนี้

D-SLR เป็นกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว ดัดแปลงจากกล้องฟิล์ม 35 mm. มาเป็นระบบดิจิตอล และใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพ โดยมีระบบการทำงาน รวมถึงคุณสมบัติต่างๆเหนือกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็คทั่วไป ซึ่งปัจจุบันราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงกว่ายุคก่อนมาก เป็นเหตุให้มือใหม่โจนเข้าสู่วงการการถ่ายภาพมากขึ้น

หากใครสนใจการถ่ายภาพอย่างจริงจัง ก็ควรเลือก D-SLR คงเหมาะกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็ค เพราะระบบการทำงานต่างๆ ตอบสนองใกล้เคียงกับกล้องฟิล์ม SLR ในสมัยก่อน และในปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยบางแห่งก็เริ่มพัฒนาหลักสูตรการถ่ายภาพด้วยกล้อง D-SLR บ้างแล้ว

ช่างภาพแนะมือใหม่ในการเลือกซื้อกล้อง D-SLR ว่าให้มองจากงบประมาณเป็นหลัก “เมื่อเราทราบงบประมาณแล้ว จะเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น ส่วนจะเลือกกล้องค่ายไหน ยี่ห้ออะไรนั้นไม่สำคัญ เพราะปัจจุบันต่างก็มีคุณสมบัติที่ดีใกล้เคียงกันทุกค่าย เราควรเลือกจากระบบการใช้งาน สีสันของภาพที่ได้ การจับถือแล้วชอบหรือเปล่า และสุดท้ายก็อาจจะมาพิจารณาที่บริการหลังการขาย ช่างภาพมือใหม่บางคนอาจยังเข้าใจผิดเรื่องจำนวนพิกเซล ว่าถ้ามีจำนวนพิกเซลสูงๆแล้วภาพจะสวยกว่า แต่ความจริงแล้วไม่เกี่ยว กล้อง D-SLR 10 ล้านพิกเซล ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สามารถนำไปอัดภาพขนาด 20 นิ้วได้สบายๆ”

ส่วนการเลือกเลนส์ให้ลองใช้ Normal Lens ที่ติดกล้องไปก่อน เพราะการเริ่มต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ราคาแพง ควรใช้เวลาเรียนรู้ว่า ตนเองชอบการถ่ายภาพแนวไหน ศึกษาให้ถ่องแท้ โดยใช้เลนส์ normal ฝึกมือไปเรื่อยๆจนเชี่ยวชาญ แล้วค่อยตัดสินใจซื้อเพิ่มเติมภายหลังก็ได้ “ช่างภาพวัยนักศึกษาไม่จำเป็นต้องไปซื้อเลนส์ระดับโปร อย่าไปคิดว่า ถ่ายด้วยเลนส์ราคาแพง แล้วภาพจะสวยได้ทันที การเริ่มต้นด้วยเลนส์ติดกล้อง ก็สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ จริงอยู่ว่า เลนส์ราคาแพงมีคุณสมบัติบางอย่างที่ดีขึ้น แต่นักศึกษาเอง ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงบประมาณด้วย”

การศึกษาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ได้รู้เทคนิคต่างๆมากมาย แต่การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด “น้องๆ ควรไปลองฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยตัวเอง ไปกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือไปร่วมกิจกรรมการถ่ายภาพกับชมรม กลุ่มต่างๆ เพื่อจะได้มีคนคอยช่วยเหลือ แนะนำ และได้เรียนรู้เทคนิคจากช่างภาพที่มีประสบการณ์ นำมาประยุกต์ใช้ ข้อสำคัญ การที่เราไปกับเพื่อนหลายๆกลุ่ม ย่อมเกิดความรู้สึกสนุกสนาน รักการถ่ายภาพมากขึ้น และทำให้น้องๆได้ฝึกฝนการถ่ายภาพหลายๆแนวอีกด้วย ส่วนการเปิดตำราอ่านนั้น ได้ความรู้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การออกไปถ่ายรูปบ่อยๆ คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาทักษะฝีมือการถ่ายภาพให้ตนเองได้”

“อย่าไปให้ความสำคัญกับกล้อง และอุปกรณ์ราคาแพงมากจนเกินไป เพราะปัจจัยสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพให้สวยงามนั้น คือ คนหลังกล้อง”

นวัตกรรมการถ่ายภาพของช่างภาพเมื่อย่างเข้าสู่โลกดิจิทัล

Saturday, July 26th, 2014

ในโลกยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมการถ่ายภาพได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนเราก้าวข้ามพ้นข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ฟิล์มถ่ายภาพ ไปสู่ยุคแห่งการครอบงำของระบบดิจิตอลกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกแห่งการถ่ายภาพจากฟิล์มสู่ดิจิตอลเป็นพลวัตหลักที่ขับเคลื่อนให้ค่านิยมทางวัตถุ วัฒนธรรมของเทคโนโลยีการสื่อสาร และการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์ยุคใหม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นวัตกรรมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพสามารถเข้าถึงศาสตร์ของการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

ในอดีต กว่าจะได้ภาพถ่ายมาสักภาพหนึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การโหลดฟิล์มลงกล้อง การถ่ายภาพด้วยจำนวนฟิล์มที่จำกัด ไปจนถึงการล้างฟิล์มและอัดภาพในห้องมืด ในขณะที่ทุกวันนี้ ผู้ถ่ายภาพสามารถใช้ memory card หรือการ์ดหน่วยความจำขนาดจิ๋วเพียงแผ่นเดียวในการถ่ายภาพ โดยไม่ต้องใส่ใจกับวันหมดอายุของฟิล์มหรือจำนวนม้วนฟิล์มที่ต้องหอบหิ้วไปด้วยในแต่ละวัน แถมกล้องระบบดิจิตอลยังสามารถรองรับหน่วยความจำได้สูง เอื้อให้ผู้ใช้ถ่ายภาพได้เป็นร้อยเป็นพันด้วยการ์ดหน่วยความจำเพียงแผ่นเดียว ขั้นตอนการรังสรรค์ภาพถ่ายที่สะดวกรวดเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัดถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับตากล้องมือสมัครเล่น แต่ในทางกลับกัน ก็อาจกลายเป็นฝันร้ายของช่างภาพมืออาชีพจำนวนไม่น้อย ยิ่งในเวลานี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพในตลาดการแข่งขันไม่ได้มีเพียงกล้อง DSLR จากบริษัทผู้ค้ากล้องชั้นนำเท่านั้น ค่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Nokia iPhone หรือ BlackBerry ต่างก็พยายามแข่งกันพัฒนาฟังก์ชั่นในการถ่ายภาพของ smartphone แบบเรียกได้ว่าไม่มีใครยอมใคร กล้องระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสื่อชนิดใดก็ตามเอื้อให้ผู้ใช้สามารถลองผิดลองถูกด้วยการหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายแล้วลบจนกว่าจะได้ภาพ ที่สวยงามถูกใจโดยไม่ต้องลงทุนกับฟิล์ม

มืออาชีพตัวจริงคือผู้ที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างทักษะด้านเทคโนโลยีและการ ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านมุมมองในการถ่ายภาพ ไม่ใช่ด้วยความอัจฉริยะของโปรแกรมดิจิตอล ความรุดหน้าของเทคโนโลยีอาจเป็นเครื่องทุ่นแรงและทำเรื่องยากทางเทคนิคให้ง่ายขึ้น ซึ่งยกระดับมาตรฐานการทำงานและคุณภาพของผลงานแบบมืออาชีพให้สูงขึ้น ถ้าการถ่ายภาพคือการหยุดเวลา ความก้าวหน้าในการพัฒนากล้องหรืออุปกรณ์ก็เพื่อเอื้อให้โอกาสหยุดเวลาเป็นไปตามต้องการยิ่งขึ้น ศาสตร์การถ่ายภาพมืออาชีพไม่ได้กำลังเสื่อมหายไป แต่กำลังเปลี่ยนไป ช่างภาพมืออาชีพต้องเปิดกว้างรับรู้ เรียนรู้และขยายขอบเขตในการทำงานให้กว้างขึ้นไปพร้อมกับมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อที่จะก้าวให้ทันโลกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ฟิลเตอร์ อุปกรณ์เสริมที่อยู่เคียงคู่กับช่างภาพมืออาชีพ

Tuesday, June 17th, 2014

 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับฟิลเตอร์ อุปกรณ์เสริมที่อยู่เคียงคู่กับช่างภาพมืออาชีพมาทุกยุคทุกสมัย ไม่เว้นแม้กระทั่ง ยุคของภาพ Digital อย่างปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบัน ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของภาพถ่าย Digital ในยุคซึ่งเทคโนโลยีก้าวไปไกลจากเดิมมาก เป็นยุคที่นักถ่ายภาพบางคน มีความเข้าใจว่า ฟิลเตอร์นั้นเป็นของล้าหลัง มีไว้ใช้กับกล้องฟิล์มสมัยโบราณเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะนำมาใช้กับกล้อง Digital เพราะหากว่าคุณภาพของไฟล์จากกล้อง Digital นั้นมีคุณภาพดีพอ กระบวนการ Post processing จะสามารถทำได้ทุกอย่าง ที่ฟิลเตอร์สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม นั่นคือความคิดและความเข้าใจของช่างภาพบางคนเท่านั้น ในขณะที่ช่างภาพมืออาชีพที่ผ่านยุคสมัยที่ใช้ฟิล์มมา หรือมือสมัครเล่นที่เป็น Advance user นั้นมีความเข้าใจเป็นอย่างดี ว่า Filter นั้นยังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ ยิ่งถ้าเป็นสถานการ์ณที่มีเวลา และสถานที่เป็นข้อจำกัดด้วยแล้ว Filter นั้นอาจจะเป็นอุปกรณ์ ที่สามารถช่วยชีวิตช่างภาพเอาไว้ก็เป็นได้

โดยทั่วไปในการจะรีดคุณภาพสูงสุดให้กับภาพถ่าย นอกจากจะต้อง ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานการถ่ายภาพอย่างเคร่งครัดแล้ว ช่างภาพในยุค Digital จะคาดหวังถึงคุณภาพของไฟล์ภาพที่ได้ด้วย เพื่อให้สามารถนำไปผ่านกระบวนการ post processing โดยคงไว้ซึ่งคุณภาพของภาพ ซึ่งในกระบวนการนี้ ช่างภาพสามารถเพิ่ม Effect ต่างๆให้กับรูปภาพได้ แต่ก็ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถ จะทำได้อย่างง่ายดายนัก อย่างเช่น “การดึงรายละเอียดของส่วนสว่างให้กลับมา ถ้าภาพถ่ายออกมาติดโอเวอร์ในส่วนนั้นแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะดึงรายละเอียดกลับมาได้ เพราะรายละเอียดส่วนนั้น ไม่ได้มีในไฟล์ภาพมาตั้งแต่ต้น” หรือว่า “การสร้าง Effect ให้สายน้ำนุ่มพริ้วเป็นสาย ในขณะที่แสงแดดจัด” หากไม่ได้ใช้ Filter ช่วยแล้ว คนทำภาพ ก็คงต้องเหงื่อตกกันหน่อยละ

การใช้ Filter เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด จุดประสงค์ที่นำฟิลเตอร์มาใช้ เพื่อเปลี่ยนสภาวะของแสง ก่อนที่จะถูกส่งผ่านเข้าไปในตัวเลนส์ นิยมใช้เสริม ในสภาวะที่สภาพแสงที่ไม่อำนวย หรือเพื่อเติมเต็มจินตนาการของช่างภาพ ในการรังสรรค์ภาพถ่าย ให้ออกมาได้ดังที่วาดไว้ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเตอร์สีต่างๆ ที่ช่วยย้อมสีของภาพ ฟิลเตอร์บางชนิดช่วยขับสีให้อิ่มขึ้น ตัดแสงสะท้อน หรือบางประเภทไม่ได้มีผลต่อสภาพแสง แต่มีไว้ช่วยปกป้องหน้าเลนส์

เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพของช่างภาพได้ พัฒนาก้าวไกลไปมาก

Saturday, May 31st, 2014

ความสำคัญของภาพถ่าย เพราะภาพถ่ายเป็นภาษาสากลประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพได้ พัฒนาก้าวไกลไปมาก การถ่ายภาพจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ภาพถ่ายจึงเข้ามามีบทบาทอย่าง สำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ นับแต่ตื่นนอนจนเข้านอนอีกครั้ง ทั้งยังมีอิทธิพลต่อการดำรง ชีวิต ต่อแนวคิด สร้างประชามติให้เกิดขึ้นในสังคม เฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวชี้นำให้คนมีความเห็น ไปในทิศทางเดียวกันกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อผู้พบเห็นแล้ว เกิดความรู้สึกหรือ อารมณ์ร่วมได้ การถ่ายภาพจึงมีประโยชน์อย่างมหาศาลกับสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งอาจจะสรุปอย่าง กว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. เป็นสื่อในการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง ตามความหมายนี้หมายถึงเฉพาะการ ใช้ภาพถ่ายในการสื่อความหมายเพื่อบอกหรืออธิบายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเป็นไป ตาม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น อาจเป็นภาพในหน้าหนังสือพิมพ์ วารสาร ที่เสนอข่าว หรือเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้ดูได้เข้าใจ รวมไปถึงภาพในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ภาพวัสดุอุปกรณ์ กลไกต่าง ๆ ที่ ต้องการสื่อให้เห็นรูปร่าง ลักษณะที่ถูกต้อง หรือแม้แต่ภาพที่ใช้ในวงการศึกษา ที่มีจุดมุ่งหมายใหญ่เพื่อ ให้ผู้ดูรู้และเข้าใจเพิ่มมากขึ้นกว่าการอ่าน เช่น ภาพขั้นตอนการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่สลับซับซ้อน ภาพถ่าย X-ray ที่ใช้ในวงการแพทย์ หรือภาพถ่ายที่ใช้การตัดสินเกมกีฬาที่ไม่สามารถตัดสินผลได้ด้วย ตาเปล่า อาจเนื่องจากเข้าเส้นชัยพร้อมกันหรือสูสีกันมาก

2. เป็นการบันทึกข้อมูลเรื่องราว เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นการถ่ายทอด ข้อมูล ซึ่งบางครั้งอาจจัดเก็บในลักษณะของไมโครฟิล์ม ภาพถ่ายในลักษณะนี้มีความสำคัญต่อการ สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของคนในสังคมและเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นเรื่องราว ต่างๆ ในวงการศึกษา เช่นภาพวัด ปราสาท ราชวัง สถานที่ บุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ หนังสือต่างๆ เรามักพบเห็นภาพถ่ายในลักษณะนี้จากนิทรรศการภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์

3. เป็นการสื่อความหมายในแง่ของความบันเทิง ภาพถ่ายประเภทนี้เป็นภาพที่แสดง ความสวยงาม เช่นภาพดอกไม้ วิวทิวทัศน์ สถานที่ ภาพบันทึกการท่องเที่ยว ภาพถ่ายครอบครัว เรื่องราว ที่สนุกสนานพึงพอใจ ปัจจุบันมีการใช้ภาพเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งวารสาร นิตยสารหนังสือพิมพ์ โปสเตอร์เชิญชวน สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แม้กระทั่งการพิมพ์ภาพถ่ายลง ในบรรจุภัณฑ์ ต่าง ๆ รวมไปถึง วีดิโอ ที่ดูจากโทรทัศน์เป็นประจำและภาพยนตร์ทั่วไปล้วนแต่เป็นรูปแบบของการใช้ภาพ ในการสื่อความหมายโดยเฉพาะในแง่ของความบันเทิง

4. เป็นการสื่อให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ภาพถ่ายในลักษณะนี้เป็นภาพศิลป์ ที่มีคุณค่า ซึ่งช่างภาพผู้ถ่ายพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้ดูภาพเกิดอารมณ์และ ความรู้สึกคล้อยตามที่ช่างภาพต้องการ ผู้ถ่ายภาพจะพยายามหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพในลักษณะการให้ ข้อมูลจริง หากมุมมองภาพที่เป็นจริงดูไม่สวยงามไม่สื่อความรู้สึกทางอารมณ์ที่ต้องการ ช่างภาพจะ พยายามเลือกมุมอื่น หรือรอจังหวะเวลาให้ได้ภาพที่ต้องการ การถ่ายภาพประเภทนี้ ผู้ถ่ายจะต้องเป็น ผู้ที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความพยายามอย่างมาก

จะเห็นได้ว่าช่างภาพกับการถ่ายภาพนั้นมีความสำคัญมากขึ้น และในปัจจุบันช่างภาพก็นำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการถ่ายภาพมากขึ้น เพื่อให้ภาพที่ออกมาดูสวยและสามารถสะท้อนมุมมองของภาพนั้นได้ด้วย

Powered by WordPress | Theme by RoseCityGardens.com