เทคโนโลยี

การกำหนดค่ารูรับแสง (Aperture Value) ให้เหมาะสมในการถ่ายภาพ

Monday, August 31st, 2015

Picture-1รูรับแสง คือปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่กล้อง มันถูกติดตั้งอยู่ที่ตัวเลนส์โดยมีลักษณะที่สามารถย่อให้เล็กหรือขยายให้ใหญ่ได้จากการควบคุมของผู้ถ่ายภาพผ่านกลไกการทำงานของกล้องและเลนส์ โดยหน้าที่ของมันคือการควบคุมปริมาณแสงที่จะเดินทางผ่านเลนส์ ยิ่งรูรับแสงมีขนาดใหญ่มากแสงก็จะยิ่งผ่านได้มาก ในทางกลับกันถ้ารูรับแสงมีขนาดที่เล็กลงแสงก็จะเดินทางผ่านเข้าไปได้น้อยด้วย ซึ่งลักษณะในการควบคุมปริมาณแสงนี้จะมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพที่ต้องใช้แสงในการบันทึกภาพ หากแสงมีปริมาณน้อยเกินไปภาพก็จะมืด แต่ถ้าแสงมีปริมาณมากเกินไปภาพก็จะสว่าง และสำหรับในกล้องถ่ายภาพยุคปัจจุบันรูรับแสงจะถูกควบคุมด้วยกลไกอัตโนมัติทางอิเล็คทรอนิกส์ ผู้ถ่ายภาพกำหนดค่ารูรับแสงเอาไว้ เมื่อกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ กล้องจะสั่งบีบรูรับแสงลงมาเฉพาะในเวลาที่ถ่ายภาพเท่านั้น ส่วนในเวลาปกติรูรับแสงจะถูกเปิดเอาไว้ที่ขนาดกว้างสุดของเลนส์ตัวนั้นเสมอ

ซึ่งกล้องส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์บังคับให้แสงผ่านเลนส์มากหรือน้อยโดยใช้แผ่นกลีบโลหะซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวเลนส์เป็นการกำหนดปริมาณแสงผ่านเลนส์ได้มากหรือน้อย โดยวิธีเปิดรูเล็กสุด เช่น f/22 และค่อยๆใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเปิดเต็มที่ เช่น f/1.4 แต่ขนาดเปิดเต็มที่จะขึ้นกับขนาดชิ้นเลนส์ด้วย เลนส์ราคาสูงที่มีเลนส์ชิ้นหน้าขนาดใหญ่จะรับแสงได้มากกว่า ซึ่งหมายถึงเปิดรูรับแสงเต็มที่ได้กว้างกว่า เช่น f/1.2 สำหรับการถ่ายภาพจะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงใด โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง ถ้าแสงมากมักจะใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/11 ถ้าแสงน้อยมักจะใช้ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น f/2 เป็นต้น

การเลือกใช้หน้ากล้องเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ถ่ายภาพ หากต้องการให้ภาพชัดทั่วทั้งภาพก็ต้องใช้หน้ากล้องแคบๆ เหมือนกับการถ่ายภาพวิวส์ทิวทัศน์ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถที่จะใช้ขนาดหน้ากล้องที่แคบมากๆได้เพราะสภาพแสงไม่เอื้ออำนวย หากเราลดขนาดหน้ากล้องลงจนแคบมาก แสงก็จะเข้ากล้องได้น้อยเราจึงต้องลดสปีดลง บางครั้งลดลงจนต่ำกว่าความเร็วที่เราถ่ายภาพได้ด้วยมือ ดังนั้นจึงต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าวัตถุที่เราต้องการจะถ่ายจะต้องหยุดนิ่ง ถ้าหากถ่ายต้นไม้ดอกไม้ที่เคลื่อนไหวไปมาตลอดเวลาเพราะแรงลม ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น มีผลทำให้ขนาดหน้ากล้องต้องปรับเพิ่มขึ้นตามจนไม่แคบเท่าที่ใจเราต้องการ

เทคนิคและอุปกรณ์เสริม ในการถ่ายเซลฟี่ให้ดูดี

Saturday, July 18th, 2015

การเซลฟี่ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดถ้าอยากให้ภาพที่เราถ่ายออกมาสวยสมใจ บางครั้งกล้องราคาแพงหรือชุดอุปกรณ์สุดหรูก็ช่วยอะไรไม่ได้ หากปราศจากเทคนิคการถ่ายภาพที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้สามารถถ่ายภาพได้สวยยิ่งขึ้นจึงมีเทคนิคการถ่ายภาพสวยๆด้วยกันดังนี้

– เลือกกล้องที่ใช่ เพราะการเซลฟี่ไม่ได้หยุดอยู่แค่กล้องหน้ามือถือเท่านั้น แต่กล้องหลังที่ชัดกว่าก็ทำได้ และกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะก็ทำได้ ซึ่งปัจจุบันมีกล้องดิจิตอลหลายยี่ห้อที่มีคุณสมบัติเด่นแข่งขันกับสมาร์ทโฟน

– ขาเซลฟี่ เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่เหมาะกับคนที่ต้องการภาพที่คมชัด โดยขาตั้งกล้องเซลฟี่ก็เหมือนกันขาตั้งกล้องตัวเล็กๆ ที่สามารถตั้งกล้องดิจิตอลหรือหนีบสมาร์ทโฟนได้ แต่การใช้ขาเซลฟี่นั้นจะค่อนข้างเสียเวลาในการจัดเตรียมจึงเหมาะกับการใช้ถ่ายภาพอย่างตั้งใจ เช่น การถ่ายภาพหมู่ แต่ก็เป็นวิธีการที่จะได้ภาพเซลฟี่ที่ได้มุมมองกว้างขวางและคมชัดที่สุด

– การฝึกมุมถ่าย เป็นขั้นตอนแรกของการถ่ายรูปเซลฟี่สวย โดยจะต้องหามุมของตนเองให้เจอ ลองซ้อมมือด้วยการถ่ายเล่นซ้ำหลายๆ ครั้งหลายๆ มุม และอาจใช้มือเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มความน่าสนใจให้กับรูปภาพ โดยปกติแล้วการถ่ายภาพเซลฟี่จะดูดีกว่าเมื่อยกกล้องขึ้นสูงจากระดับสายตาเล็กน้อย และควรหลีกเลี่ยงการจับกล้องให้เลนส์เงยขึ้น เพราะจะทำให้หน้าดูบาน

– การใช้แสง ก็เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ภาพเซลฟี่นั้นเด่นขึ้น โดยเฉพาะแสงไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นถ้าอยากได้ภาพเซลฟี่แบบสวยถูกใจก็หันหน้าเข้าหาแสงไว้ก่อน นอกจากแสงที่ให้ความสว่างแก่ใบหน้าของผู้ถ่ายแล้ว แสงยังมีประโยชน์ในเรื่องของความสวยบนดวงตาอีกด้วย

– ใช้ไม้เซลฟี่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยอดฮิตที่ต้องมีติดตัวไว้เมื่อออกไปเที่ยว ยิ่งไปกันเป็นหมู่คณะแล้วอยากเซลฟี่กับสถานที่สวยๆ ไม้เซลฟี่จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ยืดมุมกล้องออกไปได้ไกลขึ้น วิธีการใช้ไม้เซลฟี่แค่หนีบกล้องที่ปลายไม้ เชื่อมต่อรีโมทเซลฟี่กับกล้องและดึงไม้เพื่อใช้ถ่ายภาพตามระยะที่ต้องการ ที่สำคัญที่สุดจะต้องคำนึงถึงการพับเก็บให้เล็กที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการพกพา

ดังนั้น ผู้ที่ชื่นชอบในการถ่ายภาพควรจะทราบถึงเทคนิคต่างๆที่กล่าวมา เพื่อให้การถ่ายเซลฟี่นั้นดูดีและสวยงามมากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นถ่ายภาพกันง่ายๆแบบ Landscape

Friday, June 19th, 2015

Zebras-in-Sunset-Beautiful-LAndscape-Photography-Wallpaper
การถ่ายภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของการถ่ายภาพ ซึ่งในการจะถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน แต่สำหรับมือใหม่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งอาจมองได้หลายมุม บ้างว่าต้องแสงสวย บ้างเน้นที่การจัดวางองค์ประกอบของภาพ บางคนว่าต้องมีอารมณ์อยู่ในนั้น บางความเห็นว่าต้องเป็นภาพที่มีความลึก สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ภาพนั้นๆมีคุณค่ามีความหมาย ภาพๆนั้นจะต้องสามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของสถานที่นั้นๆออกมาให้ได้มาที่สุด และเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดภาพอย่างที่ว่ามานั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของเวลา

หลักการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรถ่ายขณะที่ท้องฟ้าแจ่มใสจะได้ภาพสวยงามชัดเจน ถ้าอากาศมืดครึ้มหรือฝนตก ภาพที่ได้จะมีสีทึบ ขาดรายละเอียด ควรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่ช่วยสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้นพยายามเลือก มุมกล้องที่แปลกตา คอยจังหวะให้มีลักษณะแสงสีที่สวยงาม ช่องรับแสงให้แคบเพื่อช่วยให้ภาพมีความคมและชัดลึกตลอด แม้บางครั้งจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นอกจากเลนส์ธรรมดาติดกล้องแล้ว ควรมีเลนส์มุมกว้าง การถ่ายภาพทิวทัศน์ทั่วไปนั้นคุณต้องการให้องค์ประกอบทั้งหมดในภาพทั้งใกล้และไกล มีความคมชัดพอสมควร ดังนั้นคุณควรใช้รูรับแสงเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้คุณยังอาจต้องการเพิ่มมุมมองภาพเพื่อให้กล้องสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ได้มากที่สุด ดังนั้นให้เลือกใช้เลนส์มุมกว้างที่มีทางยาวโฟกัสสั้นจะได้ภาพถ่ายที่ดีกว่า โดยให้คำนึงถึงความสมดุลของแสง หากคุณใช้รูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัดลึกของภาพ คุณต้องลดความไวชัตเตอร์ลงเพื่อชดเชย ดังนั้นแนะนำให้คุณใช้ขาตั้งกล้องเพื่อป้องกันการพร่ามัวที่เกิดจากการสั่นไหวของตัวกล้องเมื่อคุณเปิดรับแสงเป็นเวลานาน

องค์ประกอบของการถ่ายภาพ Landscape

1.การต้องใช้แสงต่างๆจะทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆในรูปภาพ ในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์จำเป็นอย่างมากในการเลือกช่วงเวลาถ่าย เพราะแต่ละช่วงเวลาจะให้แสงต่างกัน
2.ต้องหัดใช้ขาตั้งกล้อง แม้วิวจะสวยงามขนาดไหนแต่ถ่ายภาพออกมาไม่ชัดก็ทำให้เสียความรู้สึก หากไม่มั่นใจว่ามือหนึ่งก็ต้องใช้ขาตั้งกล้อง
3.ให้เวลากับสถานที่ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้สำรวจว่าจุดเด่นของสถานที่นั้นอยู่ตรงไหน แสงเข้าทางไหน จะจัดองค์ประกอบอย่างไร
4.ช่องรับแสง โฟกัส ควรใช้ช่องรับแสงกว้าง ระหว่าง f/1.4 – f/4 จะทำให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นน้อย
5.การใช้แฟลช ช่วยทำให้ใบหน้ามีความสว่างขึ้น และใช้ในกรณีถ่ายภาพย้อนแสงได้ด้วย

ใครๆก็สามารถ่ายภาพได้ เพราะอะไรถึงต้องจ้างช่างภาพ

Thursday, May 28th, 2015

หลายคนเกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงต้องจ้างช่างภาพ ในเมื่อคนเราก็สามารถถ่ายภาพเองได้ เพียงแค่มีมือถือ ไอแพด ก็สามารถถ่ายภาพได้แล้ว อีกทั้งกล้องมือถือยังมีความละเอียดคมชัดอีกด้วย แต่หารู้ไม่ว่ากล้องโทรศัพท์ เมื่อถ่ายมาความละเอียดภาพจะค่อนข้างต่ำ เอาภาพไปขยายไม่ได้ มี Noise ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากประสิทธิภาพพอๆ กับกล้องคอมแพคหรือน้อยกว่า เพียงแต่มีลูกเล่นในการแต่งภาพแบบทันใจเท่านั้น และแน่นอนกว่ากล้องมือถือหรือกล้องคอมแพคแทบจะถ่ายในที่แสงน้อยไม่ได้เลย ดังนั้น เมื่อเจอสภาพแสงน้อยก็ไม่ต่างกับกล้องคอมแพค ซึ่งการจ้างช่างภาพนั้นทำให้คุณจะได้ภาพที่สวยที่สุด มีชีวิตชีวาที่สุดในช่วงเวลานั้น เก็บไว้เป็นความทรงจำ และควรแบ่งปันความทรงจำนั้นให้คนรอบข้าง ด้วยการล้างอัดรูปส่งให้ชมกัน นอกจากนี้ยังมีเหตุผลดีๆมากมายหลายข้อ ดังนี้

1.ประสบการณ์ ช่างภาพที่มีประสบการณ์ในการถ่ายภาพ จะทราบดีว่า ควรถ่ายในช่วงไหนที่สำคัญ ลำดับภาพของงานอย่างไร สามารถรับมือกับปัญหาได้ เช่นสถานที่มืดควรถ่ายอย่างไร

2.อุปกรณ์ที่พร้อม ช่างภาพจะมีแบต และเลนส์มากกว่า 1 หรือมีอุปกรณ์ในการถ่ายย้อนแสง รวมทั้งแบตสำรองที่พร้อมมากกว่า 2 ก้อน  นั่นแสดงว่าแบตจะมีพร้อมตลอดเวลาในขณะถ่ายงาน นอกจากนี้ยังมีการ์ดหน่วยความจำที่มากกว่า 1การ์ด ทำให้คุณไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญ

ความพร้อมของช่างภาพ :ช่างภาพจะมักจะมาก่อนงานเริ่มเสมอ และจะถ่ายรันทามได้ตลอดจนจบงาน โดยไม่มีพัก หรือวิ่งเข้าห้องน้ำ เพราะเตรียมพร้อมมาแล้ว จะมุ่งเน้นเก็บงานให้ได้ดีที่สุด

4.การปรับแต่งภาพ ช่างภาพที่มีประสบการณ์การแต่งภาพมานาน จะมีการคัด การปรับแต่งแสง มีการเล่นโทนสี ตามแนวของตนเอง ซึ่งช่างภาพแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน เพราะไม่มีช่างภาพคนใดสามารถถ่ายภาพออกมาได้เป๊ะทุกรูป

5.ราคา ช่างภาพแต่ละท่านจะมีราคาเป็นมาตรฐานของตัวเอง ช่างภาพที่ดีต้องถ่ายภาพให้ได้ตามราคา เพื่อผลงานที่ดีมอบแก่ลูกค้า

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะจ้างช่างควรดูผลงานให้ละเอียด เพื่อให้การถ่ายภาพที่อาจเป็นครั้งเดียวในชีวิต ให้ออกมาสวยงาม และคุ้มค่าที่สุด

คุณสามารถถ่ายรูปได้อย่างไม่เคอะเขินและไม่เป็นจุดสนใจในปัจจุบัน

Wednesday, March 25th, 2015

7

ทุกวันนี้การถ่ายรูปอาหารกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปอาหารเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก หรือ ถ่ายรูปอาหารเพื่อลงในสื่อโซเซียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter หรืออื่นๆก็ตาม แต่ไม่ทราบว่าเพื่อนๆเจอปัญหาแบบผมหรือปล่าว คือ เมื่อเราใช้กล้องจากมือถือถ่ายรูปอาหาร รูปที่ได้กลับไม่ได้ดั่งใจที่เราต้องการสื่อออกไป เพื่อกล้องในโทรศัพท์มือถือนั้นไม่สามารถถ่ายรูปได้ตามที่เราต้องการได้ และบางครั้ง (ส่วนใหญ่) แสงในร้านอาหารก็น้อยเกินไป ภาพที่ได้จากกล้องมือถือก็เต็มไปด้วยน๊อยซ์ อาหารสวยๆก็ไม่สวยดั่งใจ เรามาลองดูเทคนิคการถ่ายรูปอาหารให้ได้ดั่งใจกันนะครับ

อุปกรณ์ในการถ่ายรูปอาหารข้อนี้สำคัญมาก เพราะหากคุณต้องการถ่ายภาพอาหารให้ได้รวดเร็วและไม่เป็นที่รบกวนลูกค้าอื่นๆในร้าน คุณควรจะหลีกเลี่ยงการใช้แฟลช และการใช้ขาตั้งกล้องนั้นไม่ต้องไปนึกถึงมัน เพราะมันจะดูเอิกเกริกจนเกินไป เพราะฉะนั้นกล้องและเลนส์ดีๆ ที่สามารถถ่ายรูปในสภาพแสงน้อยได้ดี ก็เป็นตัวเลือกที่ควรจะต้องพิจารณาครับ ถ้าคุณพอจะมีงบประมาณ ลองดูกล้อง Canon EOS 600D, Nikon D3100 และเลนส์ที่ควรใช้ก็ควรเป็นเลนส์ฟิกซ์ เช่น 50 หรือ 35 มม. เป็นต้น เพราะเลนส์เหล่านี้สามารถช่วยให้คุณถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้เป็นอย่างดีครับ หรือ หากคุณไม่ชอบกล้องใหญ่ จะใช้กล้อง Canon G12, Panasonic G2 หรือ Sony Nex 5 ก็ใช้ได้เช่นกันครับ

ก่อนจะออกไปถ่ายรูปตามร้านอาหาร ขอให้เพื่อนๆลองฝึกหัดถ่ายรูปอาหารที่บ้านก่อน โดยหลีกเลี่ยงการใช้แฟลช และทำความคุ้นเคยกับเลนส์ฟิกซ์ โดยพยายามใช้ ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยที่ยังได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ยังสูงพอที่ใช้มือประคองกล้องถ่ายได้ เมื่อคุณคุ้นเคยกับการใช้งานอุปกรณ์แล้ว เมื่อไปถ่ายรูปอาหารที่ร้านอาหารจริงๆก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นที่รำคาญแก่ลูกค้าท่านอื่นๆในร้าน ส่วนการจัดองค์ประกอบภาพนั้น ให้ลองหาดูตัวอย่างจากนิตยสารหรืออินเตอร์เน็ท ดูเยอะๆแล้วดัดแปลงมาใช้เป็นแนวของตนเอง ลองคิดไว้ก่อนว่าคุณจะถ่ายรูปอาหารอะไร หากต้องการถ่ายมากกว่า 1 อย่าง ควรจะชวนเพื่อนไปด้วยกัน จะได้สั่งอาหารมาถ่ายรูปได้เยอะๆ และควรวางแผนไปถ่ายรูปอาหารในช่วงเวลาที่ร้านอาหารเพิ่งจะเปิดเช่น ช่วงเช้าตอนที่ลูกค้ายังไม่เยอะมาก เพื่อให้คุณสามารถถ่ายรูปได้อย่างไม่เคอะเขิน และไม่เป็นจุดสนใจมากนัก

ผู้คนสามารถเข้าถึงเครื่องมือทางด้านภาพถ่ายได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน

Tuesday, February 24th, 2015

16

ในปัจจุบันผู้คนสามารถเข้าถึงเครื่องมือทางด้านภาพถ่ายได้อย่างง่ายดาย ด้วยราคาอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ลดต่ำลงมา รวมกับความง่ายต่อการใช้งาน ทำให้คุณสามารถเป็นเจ้าของกล้องถ่ายภาพได้ไม่ยากนัก และในการถ่ายภาพนั้น หมวดการถ่ายภาพที่เป็นที่นิยมมากที่สุดอันหนึ่งนั่นคือ การเป็นช่างภาพกีฬา นอกจากจะทำให้ช่างภาพได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ใกล้นักกีฬา (ที่อาจชื่นชอบแล้ว) ยังสามารถต่อยอดนำภาพถ่ายเหล่านั้นไปขายสร้างเป็นอาชีพได้เลยทีเดียว และถ้าหากคุณสนใจในการเป็นช่างภาพกีฬาแล้วล่ะก็ ลองนำคำแนะนำ 6 ขั้นตอนนี้ไปปฏิบัติ ไม่แน่ว่าคุณอาจกลายเป็นช่างภาพกีฬามืออาชีพในอนาคตก็เป็นได้ รักกีฬาจงเริ่มจากความรักในกีฬานั้นๆ บางทีคุณอาจชอบไปสนามฟุตบอลเพียงเพราะต้องการดูพริตตี้ แค่ความต้องการเท่านี้ยังไม่เพียงพอ คุณต้องรักในกีฬาประเภทนั้น เช่นคุณอาจหลงใหลในกีฬาฟุตบอล หรือเป็นนักกีฬาประเภทนั้นๆด้วย ลองตอบคำถามในใจของตนเองว่ากีฬาใดคือสิ่งที่ฉันต้องการที่สุด

เตรียมพร้อมสร้างความทะเยอทะยานขั้นตอนต่อมาคือ ให้ลองมองหาช่างภาพกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพของคุณ คุณอาจลองค้นหาใน Google เพื่อหาช่างภาพกีฬาชั้นแนวหน้าของเมืองไทยหรือของโลก ดูว่าพวกขำทำอะไร อย่างไร และมีรายได้มาจากอะไร บางทีความทะเยอทะยานของคุณอาจจะเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าช่างภาพกีฬาแต่ละคน สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนได้มากกว่า 1 ล้านบาท! ก็เป็นได้พัฒนาภาพถ่ายการแข่งขันกีฬาในทุกเกมส์การแข่งขันเมื่อคุณเลือกนักกีฬาได้แล้ว ส่วนต่อไปคือจงออกไปถ่ายภาพกีฬาในทุกการแข่งขัน มันอาจเป็นรายการเล็กๆแถวๆบ้านหรือที่โรงเรียนของคุณ หรือการแข่งขันในระดับชาติ ขอให้คุณไปทุกการแข่งขัน และถ่ายภาพให้มากที่สุด มีคนกล่าวว่า หากต้องการเป็นช่างภาพมืออาชีพโปรดถ่ายภาพให้ได้อย่างน้อย 20,000 ภาพขึ้นไป ขอให้คุณทำตามนั้น มุ่งมั่นถ่ายภาพให้ได้มากที่สุดลองขายมันข้อนี้ถือเป็นจุดเด่น ผมแนะนำว่าถ้าคุณมีภาพข่าวกีฬา หรือภาพกีฬาสวยๆสัก 200 ภาพขึ้นไป ลองสมัครเป็นสมาชิกเว็บขายภาพอาทิ shutterstock.comแล้วคุณจะรู้ว่าภาพถ่ายของคุณสามารถแปรเปลี่ยนกับมาเป็นเงินเข้ากระเป๋าคุณได้ ที่นี่มีคนขายภาพกีฬาได้เดือนละ หลายล้านบาทีเชียวเป็นอย่างไรบ้างครับ 6 ขั้นตอนนี้ผมเชื่อมั่นว่าคุณสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน และหากคุณทำมันอย่างจริงจังต่อเนื่อง คุณก็อาจจะเป็นหนึ่งในช่างภาพกีฬามืออาชีพชั้นแนวหน้าของเมืองไทยก็เป็นได้

สถานการณ์ในแต่ละครั้งจะแตกต่างกันแต่โดยมากแล้วสิ่งที่ช่างภาพต้องการสื่อสารมักจะคล้ายๆ กัน

Friday, January 30th, 2015

16

ช่างภาพอาชีพมักจะได้รับการร้องขอภาพเพื่อใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นประจำ ในโลกอุดมคติช่างภาพทั้งหลายอยากที่จะตอบรับ และต้องการที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกับโครงการที่เกี่ยวข้องการการศึกษา, โครงการเพื่อสังคม หรือ โครงการเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในหลายๆ กรณีพวกเราอยากจะมีเวลา และกำลังสนับสนุนที่จะช่วยเหลือกิจกรรมเหล่านี้อย่างเต็มที่ มากกว่าแค่การให้ใช้รูปถ่ายเสียด้วยซ้ำ แต่ในความเป็นจริง บางครั้งพวกเราก็ไม่สามารถที่จะแม้แต่ตอบกลับคำขอเหล่านั้น และในบางทีการตอบกลับก็ทำได้เพียงข้อความสั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่สามารถสื่อถึงสิ่งที่เราต้องการบอกได้ครบถ้วนเต็มที่

แม้ สถานการณ์ในแต่ละครั้งจะแตกต่างกัน แต่โดยมากแล้วสิ่งที่ช่างภาพต้องการสื่อสารมักจะคล้ายๆ กัน ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะแสดงให้เห็นสิ่งที่พวกเราต้องการสื่อสาร ผ่านข้อความด้านล่าง เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดในการสื่อสาร ระหว่างช่างภาพ และผู้สนใจใช้ภาพ กรุณาเปิดใจกว้างรับสารที่พวกเราพยายามจะสื่อ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากที่ท่านได้อ่านข้อความด้านล่างแล้ว ท่านจะเข้าใจเรามากขึ้น และกลับมาคุยกับเราอีกครั้ง เพื่อสร้างการทำงานที่เกิดผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เราหาเลี้ยงชีพด้วยการขายภาพ การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเป็นการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพของพวกเรา ถ้าพวกเรามอบภาพถ่ายให้โดยไม่คิดมูลค่า หรือทุ่มเวลาอธิบายตอบกลับการขอใช้ภาพถ่ายฟรีๆ มากเกินไป พวกเราคงไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้

พวกเราให้ภาพถ่าย เพื่อสนับสนุนโครงการที่เหมาะสมเหมือนกันช่าง ภาพส่วนใหญ่สนับสนุนภาพถ่ายเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ในหลายๆ กรณี พวกเราไม่ได้เพียงแค่สนับสนุนภาพถ่ายอย่างเดียว แต่พวกเรายังเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการนั้นๆ อีกด้วย บางครั้งเราเข้าไปโดยรู้จักเป็นการส่วนตัวกับคนทำงานหลักของโครงการ หรือเป็นผู้ร่วมผลักดันโครงการนั้นๆ เอง อีกนัยหนึ่งคือ พวกเราช่างภาพก็มีการให้ใช้ภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในบางกรณี เช่นกันพวกเรามีเวลาจำกัดการตอบรับการสนับสนุนภาพถ่ายให้โครงการที่เราเลือก พร้อมกับการตอบกลับ อธิบายเหตุผลให้ทุกคนที่ขอใช้ภาพถ่ายไปพร้อมๆ กัน ในความเป็นจริงแล้วมันทำได้ยากมาก การตอบกลับการร้องขอ, แลกเปลี่ยนรายละเอียดโครงการ, เตรียมภาพและส่ง file ให้ และติดตามผลว่าภาพของเราถูกใช้อย่างไร ตรงกับความตั้งใจของเราหรือไม่ ทั้งหมดที่ว่ามานี้ต้องใช้เวลามาก และบางครั้งเราไม่มีเวลาเพียงพอ

ช่างภาพมือโปร แนะมือใหม่ ที่ใช้ DSLR

Tuesday, December 23rd, 2014

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างกล้องดิจิตอลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แถมยังมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะกล้องดิจิตอลประเภท D-SLR จนทำให้ใครหลายคนโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา หันมาสนใจและใช้กล้องประเภทนี้กันมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาและพบได้บ่อยครั้ง คือ มือใหม่หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อกล้องประเภทนี้

D-SLR เป็นกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว ดัดแปลงจากกล้องฟิล์ม 35 mm. มาเป็นระบบดิจิตอล และใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพ โดยมีระบบการทำงาน รวมถึงคุณสมบัติต่างๆเหนือกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็คทั่วไป ซึ่งปัจจุบันราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงกว่ายุคก่อนมาก เป็นเหตุให้มือใหม่โจนเข้าสู่วงการการถ่ายภาพมากขึ้น

หากใครสนใจการถ่ายภาพอย่างจริงจัง ก็ควรเลือก D-SLR คงเหมาะกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพ็ค เพราะระบบการทำงานต่างๆ ตอบสนองใกล้เคียงกับกล้องฟิล์ม SLR ในสมัยก่อน และในปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยบางแห่งก็เริ่มพัฒนาหลักสูตรการถ่ายภาพด้วยกล้อง D-SLR บ้างแล้ว

ช่างภาพแนะมือใหม่ในการเลือกซื้อกล้อง D-SLR ว่าให้มองจากงบประมาณเป็นหลัก “เมื่อเราทราบงบประมาณแล้ว จะเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น ส่วนจะเลือกกล้องค่ายไหน ยี่ห้ออะไรนั้นไม่สำคัญ เพราะปัจจุบันต่างก็มีคุณสมบัติที่ดีใกล้เคียงกันทุกค่าย เราควรเลือกจากระบบการใช้งาน สีสันของภาพที่ได้ การจับถือแล้วชอบหรือเปล่า และสุดท้ายก็อาจจะมาพิจารณาที่บริการหลังการขาย ช่างภาพมือใหม่บางคนอาจยังเข้าใจผิดเรื่องจำนวนพิกเซล ว่าถ้ามีจำนวนพิกเซลสูงๆแล้วภาพจะสวยกว่า แต่ความจริงแล้วไม่เกี่ยว กล้อง D-SLR 10 ล้านพิกเซล ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สามารถนำไปอัดภาพขนาด 20 นิ้วได้สบายๆ”

ส่วนการเลือกเลนส์ให้ลองใช้ Normal Lens ที่ติดกล้องไปก่อน เพราะการเริ่มต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ราคาแพง ควรใช้เวลาเรียนรู้ว่า ตนเองชอบการถ่ายภาพแนวไหน ศึกษาให้ถ่องแท้ โดยใช้เลนส์ normal ฝึกมือไปเรื่อยๆจนเชี่ยวชาญ แล้วค่อยตัดสินใจซื้อเพิ่มเติมภายหลังก็ได้ “ช่างภาพวัยนักศึกษาไม่จำเป็นต้องไปซื้อเลนส์ระดับโปร อย่าไปคิดว่า ถ่ายด้วยเลนส์ราคาแพง แล้วภาพจะสวยได้ทันที การเริ่มต้นด้วยเลนส์ติดกล้อง ก็สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ จริงอยู่ว่า เลนส์ราคาแพงมีคุณสมบัติบางอย่างที่ดีขึ้น แต่นักศึกษาเอง ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงบประมาณด้วย”

การศึกษาจากหนังสือ หรือเว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้ได้รู้เทคนิคต่างๆมากมาย แต่การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด “น้องๆ ควรไปลองฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยตัวเอง ไปกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือไปร่วมกิจกรรมการถ่ายภาพกับชมรม กลุ่มต่างๆ เพื่อจะได้มีคนคอยช่วยเหลือ แนะนำ และได้เรียนรู้เทคนิคจากช่างภาพที่มีประสบการณ์ นำมาประยุกต์ใช้ ข้อสำคัญ การที่เราไปกับเพื่อนหลายๆกลุ่ม ย่อมเกิดความรู้สึกสนุกสนาน รักการถ่ายภาพมากขึ้น และทำให้น้องๆได้ฝึกฝนการถ่ายภาพหลายๆแนวอีกด้วย ส่วนการเปิดตำราอ่านนั้น ได้ความรู้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่การออกไปถ่ายรูปบ่อยๆ คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาทักษะฝีมือการถ่ายภาพให้ตนเองได้”

“อย่าไปให้ความสำคัญกับกล้อง และอุปกรณ์ราคาแพงมากจนเกินไป เพราะปัจจัยสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพให้สวยงามนั้น คือ คนหลังกล้อง”

ช่างภาพกับเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลในการถ่ายภาพ

Monday, November 24th, 2014

ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีการถ่ายภาพในระบบดิจิตอลนับว่ามีการพัฒนาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง เริ่มต้นจากการพัฒนาความสามารถในการเก็บภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น แต่วันนี้ไม่เพียงแค่ความละเอียดเท่านั้น ที่เราต้องการ เพราะความสมจริงและสามารถเทียบเคียงได้กับภาพที่ได้จากระบบฟิล์ม กลับเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าความก้าวหน้าของโลก เทคโนโลยีการถ่ายภาพในระบบดิจิตอลนับว่ามีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เริ่มต้นจากการพัฒนาความสามารถในการเก็บภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น แต่วันนี้ไม่เพียงแค่ความละเอียดเท่านั้น ที่เราต้องการ เพราะความสมจริงและสามารถเทียบเคียงได้กับภาพที่ได้จากระบบฟิล์ม กลับเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า

ระบบการเก็บภาพของกล้องดิจิตอล
ความนิยมในการใช้งานกล้องดิจิตอลนับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะความสะดวกที่มีมากกว่ากล้องแบบใช้ฟิล์มธรรมดา เช่น การถ่ายภาพแล้วมองเห็นได้ทันทีซึ่งนอกจากจะสะดวกต่อการตรวจสอบว่าภาพมีความ บกพร่องตรงไหนบ้างแล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานเพื่อการตบแต่งภาพได้เลย และยังสะดวกก็ตรงที่สามารถเลือกภาพที่ต้องการได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และที่สำคัญก็คือราคาของกล้องดิจิตอลนั้นลดลงมารวดเร็ว จนราคาของกล้องที่มีประสิทธิภาพพอสมควร นั้นไม่แตกต่างไปจากกล้องแบบใช้ฟิล์มในระดับคุณภาพเท่าๆ กัน

ในระบบของการทำงานของกล้องดิจิตอลนั้น การทำงานโดยทั่วๆ ไปแทบจะเรียกว่าไม่แตกต่างไปจากกล้องแบบฟิล์มเลย จะแตกต่างก็คือการรับภาพเพื่อนำไปเก็บไว้ในการ์ดหน่วยความจำนั้น จะใช้เซนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่รับแสงที่ตกกระทบผ่านเข้ามาทางเลนส์ของกล้อง แทนที่การใช้ฟิล์มเป็นตัวตกกระทบของแสงสำหรับในกล้องฟิล์มปัจจุบัน และข้อมูลแสงที่ได้จากเซนเซอร์นี้ ก็จะถูกนำไปสร้างเป็นข้อมูลภาพและเก็บลงในหน่วยความจำต่อไป

โดยหลักๆ แล้ว เทคโนโลยีของเซนเซอร์รับภาพ แม้จะแบ่งเป็นสองลักษณะการทำงานก็คือ CCD และ CMOS แต่หากพูดว่าภาพในกล้องดิจิตอลจะถูกเก็บลงไปยังหน่วยความจำแบบใด ก็ยังมีเทคโนโลยีของการรับภาพมาให้ทำความรู้จักกันอีก เพราะมีทั้งเทคโนโลยีปัจจุบันและเทคโนโลยีใหม่ ให้เลือกใช้งาน ซึ่งรายละเอียดนี้ก็คงจะตอบได้ว่าทำไมกล้องดิจิตอลถึงรับภาพได้ยังไม่เท่า กับฟิล์ม และอีกนานเท่าใดกล้องดิจิตอลถึงจะสามารถใช้แทนที่กล้องฟิล์มได้อย่างสมบูรณ์ แบบ

การถ่ายภาพมืออาชีพกำลังจะหายไปในยุคดิจิตอลจริงหรือ

Monday, October 20th, 2014

ในโลกยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมการถ่ายภาพได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนเราก้าวข้ามพ้นข้อจำกัดในเรื่องของการใ ช้ฟิล์มถ่ายภาพ ไปสู่ยุคแห่งการครอบงำของระบบดิจิตอลกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกแห่งการถ่ายภาพจากฟิล์มสู่ดิจิตอลเป็นพลวัตหลักที่ขับเคลื่อนให้ค่านิยมทางวัตถุ วัฒนธรรมของเทคโนโลยีการสื่อสาร และการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์ยุคใหม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นวัตกรรมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพสามารถเข้าถึงศาสตร์ของการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

ในอดีต กว่าจะได้ภาพถ่ายมาสักภาพหนึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การโหลดฟิล์มลงกล้อง การถ่ายภาพด้วยจำนวนฟิล์มที่จำกัด ไปจนถึงการล้างฟิล์มและอัดภาพในห้องมืด ในขณะที่ทุกวันนี้ ผู้ถ่ายภาพสามารถใช้ memory card หรือการ์ดหน่วยความจำขนาดจิ๋วเพียงแผ่นเดียวในการถ่ายภาพ โดยไม่ต้องใส่ใจกับวันหมดอายุของฟิล์มหรือจำนวนม้วนฟิล์มที่ต้องหอบหิ้วไปด้วยในแต่ละวัน แถมกล้องระบบดิจิตอลยังสามารถรองรับหน่วยความจำได้สูง เอื้อให้ผู้ใช้ถ่ายภาพได้เป็นร้อยเป็นพันด้วยการ์ดหน่วยความจำเพียงแผ่นเดียว ขั้นตอนการรังสรรค์ภาพถ่ายที่สะดวกรวดเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัดถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับตากล้องมือสมัครเล่น แต่ในทางกลับกัน ก็อาจกลายเป็นฝันร้ายของช่างภาพมืออาชีพจำนวนไม่น้อย ยิ่งในเวลานี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพในตลาดการแข่งขันไม่ได้มีเพียงกล้อง DSLR จากบริษัทผู้ค้ากล้องชั้นนำเท่านั้น ค่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Nokia iPhone หรือ BlackBerry ต่างก็พยายามแข่งกันพัฒนาฟังก์ชั่นในการถ่ายภาพของ smartphone แบบเรียกได้ว่าไม่มีใครยอมใคร กล้องระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสื่อชนิดใดก็ตามเอื้อให้ผู้ใช้สามารถลองผิดลองถูกด้วยการหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายแล้วลบจนกว่าจะได้ภาพ ที่สวยงามถูกใจโดยไม่ต้องลงทุนกับฟิล์ม

อย่าลืมว่า หัวใจหลักของการถ่ายภาพคือการหยุดช่วงเวลาหนึ่งไว้เพื่อนำมาถ่ายทอดตามวัตถุประสงค์ ความรู้สึกนึกคิด และมุมมองของผู้กดชัตเตอร์ เรื่องราวผ่านเลนส์จึงมิได้จำกัดอยู่แค่ในกรอบสี่เหลี่ยมของภาพถ่ายที่เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นความร่วมมือและการประสานเชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่ระหว่างผู้ส่งสาร ตัวสารที่ถูกคมชัตเตอร์บันทึก และผู้บริโภคสารซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่หนึ่ง ไปจนถึงบุคคลกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน

มืออาชีพตัวจริงคือผู้ที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างทักษะด้านเทคโนโลยีและการ ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านมุมมองในการถ่ายภาพ ไม่ใช่ด้วยความอัจฉริยะของโปรแกรมดิจิตอล ความรุดหน้าของเทคโนโลยีอาจเป็นเครื่องทุ่นแรงและทำเรื่องยากทางเทคนิคให้ง่ายขึ้น ซึ่งยกระดับมาตรฐานการทำงานและคุณภาพของผลงานแบบมืออาชีพให้สูงขึ้น ถ้าการถ่ายภาพคือการหยุดเวลา ความก้าวหน้าในการพัฒนากล้องหรืออุปกรณ์ก็เพื่อเอื้อให้โอกาสหยุดเวลาเป็นไปตามต้องการยิ่งขึ้น ศาสตร์การถ่ายภาพมืออาชีพไม่ได้กำลังเสื่อมหายไป แต่กำลังเปลี่ยนไป ช่างภาพมืออาชีพต้องเปิดกว้างรับรู้ เรียนรู้และขยายขอบเขตในการทำงานให้กว้างขึ้นไปพร้อมกับมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อที่จะก้าวให้ทันโลกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ถ้าจะมองย้อนกลับไป เทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพก็ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดนิ่ง และได้เปลี่ยนโลกของการถ่ายภาพมาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่โจเซฟ นิเซเฟอร์ เนียพเซ่ ชาวฝรั่งเศส บุกเบิกการถ่ายภาพด้วยกล้องออบสคิวราเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว จากอดีตสู่ปัจจุบัน ผลงานระดับมืออาชีพไม่เคยเป็นผลพวงของความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการหลอมรวมกันระหว่างศักยภาพของเครื่องมือและทัศนวิสัยที่แหลมคมเป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคล ที่จะช่วยแยกความเป็นมือสมัครเล่นออกจากมืออาชีพได้อย่างมีชั้นเชิง

สื่อต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้นทำให้ช่างภาพได้เผยแพร่ภาพได้มากขึ้น

Monday, September 29th, 2014

ในปัจจุบันสื่อใหม่เข้ามามิอิทธิพลมากมาย ไม่เว้นแม้แต่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สื่อใหม่ทำให้ผู้ใช้มีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นและยังกระตุ้นให้ผู้นำเสนอเนื้อหาให้เร่งผลิตเนื้อหาและคิดวิธีการใช้ช่องทางใหม่เหล่านี้เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้มากขึ้นและสามารถหาช่องทางใหม่ๆในการนำเสนอเรื่องราวออกไปในอดีตช่างภาพและนิตยสารจะร่วมมือกันเพื่อสร้างและนำเสนอผลงาน แต่ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ฟรีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ช่างภาพจึงควรปรับตัวรับสถานการณ์นี้มากกว่าที่จะกลัวว่าจะถูกขโมยผลงานไปใช้ ช่างภาพควรศึกษาวิธีประยุกต์ใช้สื่อเหล่านี้เพื่อเพิ่มช่องทางหรือใช้เทคนิคใหม่ๆเพื่อช่วยนำเสนอมิติหรือมุมมองที่อาจมีมากกว่าหนึ่งจึงก่อตั้งขึ้นเป็นเวทีที่ให้ช่างภาพเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวคิดและวิธีการนำสื่อใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานโดยเฉพาะในเรื่องของการนำเสนอผลงานและการสร้างวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ ช่วยกระตุ้นในช่างภาพตื่นตัวที่จะเรียนรู้ ค้นคว้าทดลองการทำงานกับสื่อใหม่

การใช้สื่อใหม่ไม่ใช่เพื่อให้มีผู้เห็นผลงานของช่างภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นทางเลือกใหม่ๆในการเล่าเรื่องโดยเฉพาะในประเด็นที่ภาพถ่ายอาจทำได้ไม่เต็มที่ เธอกล่าวว่ามันอาจเป็นไปได้ที่จะทำอะไรมากกว่าการถ่ายภาพ ชมภาพและการแบ่งปันในโลกสังคมออนไลน์ เช่น อาจก่อให้เกิดการเข้าร่วมจากภาคสังคมในระยะยาวและยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้มีแค่ช่างภาพที่เข้าร่วมเท่านั้น แต่ยังมีบุคลากรในวงการภาพยนตร์ ศิลปะและการออกแบบเข้าร่วมเพื่อก่อให้เกิดการทดลองใหม่ๆที่ไม่ติดแค่กรอบการทำงานเดิมๆสื่อใหม่ยังไม่ได้ส่งผลแค่วิธีการนำเสนอเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเรื่องที่จะถูกเลือกมานำเสนอ ในอดีตนิตยสารและหนังสื่อพิมพ์จะเป็นผู้กำหนดว่าประเด็นใดควรจะเล่าออกไปหรือไม่ควร แต่เมื่อสื่อใหม่เข้ามาเรื่องบางเรื่องที่ถูกมองข้ามก็อาจถูกยกมาเล่าได้มากยิ่งขึ้น ในการใช้สื่อใหม่ช่างภาพอาจต้องทำงานโดยไม่มีนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ช่วยเรื่องงบประมาณแต่อาจใช้ช่องทางการระดมทุนออนไลน์ เช่น kickstarter เข้ามาช่วยแทน ซึ่ง Photography, Expanded เองก็กำลังพยายามหาโครงสร้างที่สามารถช่วยเหลือช่างภาพในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น

ช่างภาพกับการถ่ายภาพแบบมืออาชีพด้วยกล้องมือถือ

Tuesday, August 19th, 2014


เคยสงสัยไหมว่าที่ผ่านมาเราใช้ประโยชน์จากกล้องสมาร์ทโฟนของคุณได้สูงสุดหรือไม่ และมีอะไรที่มากไปกว่าการใช้ filters ที่จะทำให้รูปภาพของคุณดูดีกว่าความเป็นจริงหรือเปล่า เทคนิควิธีการถ่ายภาพแบบมืออาชีพด้วยกล้องสมาร์ทโฟน ให้ฟัง  ผู้คนไม่เข้าใจและไม่เชื่อว่า ภาพจากกล้องมือถือ จะให้โอกาสที่ดีแก่ช่างภาพและกล่าวเสริมอีกว่า มันเป็นยุคทอง

เคล็ดลับในการถ่ายรูปด้วยกล้องมือถือ
1. ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับแสง การถ่ายภาพในที่ที่มีแสงเหมาะสม อย่างช่วงรุ่งเช้า และช่วงก่อนค่ำ จะมีศักยภาพสำหรับภาพที่ดูน่าเบื่อให้สวยงามขึ้นได้
2. ห้ามใช้ฟังก์ชั่นการซูมจากมือถือ ถ้าเป็นครั้งแรกที่ใช้ เป็นไปได้ว่าจะมีความผิดพลาดและให้ภาพที่แย่เกิดขึ้นได้ ถ้าอยากได้ภาพที่ใกล้ขึ้น ให้ซูมภาพด้วยเท้าของคุณ เดินเข้าไปใกล้ๆ ให้มากขึ้นเพื่อคุณภาพรูปที่ดี
3. การล็อกค่ารับแสงและโฟกัส ภาพถ่ายของคุณจะดีขึ้น 100 % ด้วยตัวกล้องของคุณโดยการแตะค้างที่หน้าจอเพื่อตั้งค่าการรับแสงเมื่อกดชัตเตอร์ 1 ครั้งจะมีการ ล็อกค่าและโฟกัส นอกจากนี้ยังมีแอพหลายตัวที่สามารถแยกการตั้งค่าการรับแสงและโฟกัสได้
4. เสียงเรียกร้องที่ดังออกมาจากข้างใน คุณสามารถใช้เวลา 1 วันเต็มๆในการถ่ายรูปเพียงอย่างเดียว ถ้าเสียงเรียกร้องภายในของคุณพูดว่า “ฉันต้องการถ่ายรูป”
5. edit edit และ edit จงยับยั้งใจที่จะแชร์ทุกภาพที่มีอยู่ของคุณ เลือกโพสเฉพาะภาพที่ดีที่สุดแล้วผู้ที่ชื่นชมภาพของคุณจะมีมากขึ้น “พวกเขาไม่ได้ต้องการที่จะเห็นทั้ง เด็กที่น่าเกลียดทั้ง 10000 คนของคุณ “แต่ “ฉันพยามที่จะเลือกสิ่งที่น่าเกลียดน้อยที่สุด” ซึ่งมันยากที่จะเลือกและเป็นอะไรที่ส่วนตัวมาก
6. ความสามารถทางเทคนิคไม่สามารถวัดได้ คุณต้องหมั่นฝึกฝนและใช้พลังในการสังเกต การเรียนรู้ในการมองและเห็นให้ลึกขึ้น
7. filter ไม่สามารถแทนที่ตาที่ดีของคุณได้ “คุณยังต้องการความเป็นพื้นฐาน” มองหาโอกาส แสง และ วัตถุ ถ้าคุณต้องการที่จะเพิ่ม สีซีเปีย , ดำ , ขาว หรืออื่นๆ ควรมาเลือกภายหลัง (โดยใช้แอพพวก Instagram หรืออื่นๆ ) ไม่เป็นไร แต่ควรจำไว้ว่า “ไม่ว่าคุณจะทาลิปสติกให้หมู ยังไงมันก็คือหมูอยู่ดี” คล้ายกับสำนวนไทยที่ว่า “กายังไงก็เป็นกา ไม่มีวันเป็นหงส์ได้ ” แต่ถ้ามันเป็นการทำเพื่อการสื่อสาร เขาก็จะทำ แต่หลังจากนั้นถ้าต้องการก็เอา filter ออก
8. การถ่ายภาพจากระดับสะโพกจะให้ภาพ candid ที่ดีกว่า การถือโทรศัพท์ไว้ที่ระดับสะโพกและกดถ่ายไปเรื่อยๆ เพื่อนๆและครอบครัวของคุณจะไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังบันทึกภาพพวกเขาอยู่ แต่ถ้ามีการรู้ตัวซักนิดนึง ความเป็นธรรมชาติก็จะลดน้อยลง และจะทำให้ได้ภาพที่ไม่ดีได้ ซึ่งเมื่อคุณได้ภาพที่ดีแม้เพียงภาพเดียวก็เพียงพอที่จะนำไปภูมิใจเสนอให้ใครต่อใครเห็นได้
9. ให้เป้าหมายและ deadlines กับตัวเอง ลองถ่ายภาพ 20 ภาพจากวัตถุงเพียง 1 ชิ้นด้วยมุมที่แตกต่างกันออกไป จะทำให้มองเห็นโลกที่แตกต่างกัน แม้จะเป็เพียงการเดินไปรอบๆชามผลไม้บนโต๊ะในครัวของคุณ คุณลองสังเกตแสงที่ออกมาจากมุมต่างๆ จะให้ความรู้สึกของภาพแตกต่างกันไป
10. คุณต้องรู้สึกถึงสิ่งที่คุณต้องการ ก่อนที่คุณจะเห็นมัน โดยการทำรายชื่อสิ่งที่คุณต้องการที่จะถ่ายในวันนี้ และ ออกค้นหาพวกเขา Hernandezบอกว่าถ้าคุณรู้ถึงการทำงานของผมแล้ว คุณจะรู้ว่าอันดับแรกในรายการของผมมักจะเป็นผู้ชายในหมวก fedoras หรือ อะไรก็ได้ที่สวมหมวก
11. ศึกษาช่างภาพคนอื่นๆ โดยการใช้เวลาและจำนวนเงินอันน้อยนิดในการหาเวลาไปดูภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้ความต่ำต้อยของตัวเองดีขึ้น เช่นภาพของช่างถ่ายภาพคนโปรด มีความสุขที่จะเห็นภาพในแนวที่เราชื่นชอบ ภาพใน instagram หรือภาพของบรรดาเพื่อนๆ ของเรา
12. พร้อมอยู่เสมอ คุณต้องแน่ใจคุณพร้อมเมื่อความคืดและใจคุณพูดว่า “ถ่าย” คุณจะต้องไม่มีข้องอ้างแก้ตัวว่า โอ้!! กล้องฉันยังอยู่ในกระเป๋าอยู่เลย หรือ ฉันไม่ได้เอากล้องมาเพราะฉันแบกมันไปตลอดเวลาไม่ไหว และนี่คือสิ่งที่ทำให้รักการถ่ายภาพด้วยมือถือ เพราะว่า มือถืออยู่กับตัวเราตลอดเวลา

นวัตกรรมการถ่ายภาพของช่างภาพเมื่อย่างเข้าสู่โลกดิจิทัล

Saturday, July 26th, 2014

ในโลกยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมการถ่ายภาพได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนเราก้าวข้ามพ้นข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ฟิล์มถ่ายภาพ ไปสู่ยุคแห่งการครอบงำของระบบดิจิตอลกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกแห่งการถ่ายภาพจากฟิล์มสู่ดิจิตอลเป็นพลวัตหลักที่ขับเคลื่อนให้ค่านิยมทางวัตถุ วัฒนธรรมของเทคโนโลยีการสื่อสาร และการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์ยุคใหม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นวัตกรรมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพสามารถเข้าถึงศาสตร์ของการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น

ในอดีต กว่าจะได้ภาพถ่ายมาสักภาพหนึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การโหลดฟิล์มลงกล้อง การถ่ายภาพด้วยจำนวนฟิล์มที่จำกัด ไปจนถึงการล้างฟิล์มและอัดภาพในห้องมืด ในขณะที่ทุกวันนี้ ผู้ถ่ายภาพสามารถใช้ memory card หรือการ์ดหน่วยความจำขนาดจิ๋วเพียงแผ่นเดียวในการถ่ายภาพ โดยไม่ต้องใส่ใจกับวันหมดอายุของฟิล์มหรือจำนวนม้วนฟิล์มที่ต้องหอบหิ้วไปด้วยในแต่ละวัน แถมกล้องระบบดิจิตอลยังสามารถรองรับหน่วยความจำได้สูง เอื้อให้ผู้ใช้ถ่ายภาพได้เป็นร้อยเป็นพันด้วยการ์ดหน่วยความจำเพียงแผ่นเดียว ขั้นตอนการรังสรรค์ภาพถ่ายที่สะดวกรวดเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัดถือเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับตากล้องมือสมัครเล่น แต่ในทางกลับกัน ก็อาจกลายเป็นฝันร้ายของช่างภาพมืออาชีพจำนวนไม่น้อย ยิ่งในเวลานี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพในตลาดการแข่งขันไม่ได้มีเพียงกล้อง DSLR จากบริษัทผู้ค้ากล้องชั้นนำเท่านั้น ค่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Nokia iPhone หรือ BlackBerry ต่างก็พยายามแข่งกันพัฒนาฟังก์ชั่นในการถ่ายภาพของ smartphone แบบเรียกได้ว่าไม่มีใครยอมใคร กล้องระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสื่อชนิดใดก็ตามเอื้อให้ผู้ใช้สามารถลองผิดลองถูกด้วยการหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายแล้วลบจนกว่าจะได้ภาพ ที่สวยงามถูกใจโดยไม่ต้องลงทุนกับฟิล์ม

มืออาชีพตัวจริงคือผู้ที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างทักษะด้านเทคโนโลยีและการ ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านมุมมองในการถ่ายภาพ ไม่ใช่ด้วยความอัจฉริยะของโปรแกรมดิจิตอล ความรุดหน้าของเทคโนโลยีอาจเป็นเครื่องทุ่นแรงและทำเรื่องยากทางเทคนิคให้ง่ายขึ้น ซึ่งยกระดับมาตรฐานการทำงานและคุณภาพของผลงานแบบมืออาชีพให้สูงขึ้น ถ้าการถ่ายภาพคือการหยุดเวลา ความก้าวหน้าในการพัฒนากล้องหรืออุปกรณ์ก็เพื่อเอื้อให้โอกาสหยุดเวลาเป็นไปตามต้องการยิ่งขึ้น ศาสตร์การถ่ายภาพมืออาชีพไม่ได้กำลังเสื่อมหายไป แต่กำลังเปลี่ยนไป ช่างภาพมืออาชีพต้องเปิดกว้างรับรู้ เรียนรู้และขยายขอบเขตในการทำงานให้กว้างขึ้นไปพร้อมกับมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อที่จะก้าวให้ทันโลกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ฟิลเตอร์ อุปกรณ์เสริมที่อยู่เคียงคู่กับช่างภาพมืออาชีพ

Tuesday, June 17th, 2014

 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับฟิลเตอร์ อุปกรณ์เสริมที่อยู่เคียงคู่กับช่างภาพมืออาชีพมาทุกยุคทุกสมัย ไม่เว้นแม้กระทั่ง ยุคของภาพ Digital อย่างปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบัน ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของภาพถ่าย Digital ในยุคซึ่งเทคโนโลยีก้าวไปไกลจากเดิมมาก เป็นยุคที่นักถ่ายภาพบางคน มีความเข้าใจว่า ฟิลเตอร์นั้นเป็นของล้าหลัง มีไว้ใช้กับกล้องฟิล์มสมัยโบราณเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะนำมาใช้กับกล้อง Digital เพราะหากว่าคุณภาพของไฟล์จากกล้อง Digital นั้นมีคุณภาพดีพอ กระบวนการ Post processing จะสามารถทำได้ทุกอย่าง ที่ฟิลเตอร์สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม นั่นคือความคิดและความเข้าใจของช่างภาพบางคนเท่านั้น ในขณะที่ช่างภาพมืออาชีพที่ผ่านยุคสมัยที่ใช้ฟิล์มมา หรือมือสมัครเล่นที่เป็น Advance user นั้นมีความเข้าใจเป็นอย่างดี ว่า Filter นั้นยังเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ ยิ่งถ้าเป็นสถานการ์ณที่มีเวลา และสถานที่เป็นข้อจำกัดด้วยแล้ว Filter นั้นอาจจะเป็นอุปกรณ์ ที่สามารถช่วยชีวิตช่างภาพเอาไว้ก็เป็นได้

โดยทั่วไปในการจะรีดคุณภาพสูงสุดให้กับภาพถ่าย นอกจากจะต้อง ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานการถ่ายภาพอย่างเคร่งครัดแล้ว ช่างภาพในยุค Digital จะคาดหวังถึงคุณภาพของไฟล์ภาพที่ได้ด้วย เพื่อให้สามารถนำไปผ่านกระบวนการ post processing โดยคงไว้ซึ่งคุณภาพของภาพ ซึ่งในกระบวนการนี้ ช่างภาพสามารถเพิ่ม Effect ต่างๆให้กับรูปภาพได้ แต่ก็ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถ จะทำได้อย่างง่ายดายนัก อย่างเช่น “การดึงรายละเอียดของส่วนสว่างให้กลับมา ถ้าภาพถ่ายออกมาติดโอเวอร์ในส่วนนั้นแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะดึงรายละเอียดกลับมาได้ เพราะรายละเอียดส่วนนั้น ไม่ได้มีในไฟล์ภาพมาตั้งแต่ต้น” หรือว่า “การสร้าง Effect ให้สายน้ำนุ่มพริ้วเป็นสาย ในขณะที่แสงแดดจัด” หากไม่ได้ใช้ Filter ช่วยแล้ว คนทำภาพ ก็คงต้องเหงื่อตกกันหน่อยละ

การใช้ Filter เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด จุดประสงค์ที่นำฟิลเตอร์มาใช้ เพื่อเปลี่ยนสภาวะของแสง ก่อนที่จะถูกส่งผ่านเข้าไปในตัวเลนส์ นิยมใช้เสริม ในสภาวะที่สภาพแสงที่ไม่อำนวย หรือเพื่อเติมเต็มจินตนาการของช่างภาพ ในการรังสรรค์ภาพถ่าย ให้ออกมาได้ดังที่วาดไว้ ไม่ว่าจะเป็นฟิลเตอร์สีต่างๆ ที่ช่วยย้อมสีของภาพ ฟิลเตอร์บางชนิดช่วยขับสีให้อิ่มขึ้น ตัดแสงสะท้อน หรือบางประเภทไม่ได้มีผลต่อสภาพแสง แต่มีไว้ช่วยปกป้องหน้าเลนส์

เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพของช่างภาพได้ พัฒนาก้าวไกลไปมาก

Saturday, May 31st, 2014

ความสำคัญของภาพถ่าย เพราะภาพถ่ายเป็นภาษาสากลประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพได้ พัฒนาก้าวไกลไปมาก การถ่ายภาพจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ภาพถ่ายจึงเข้ามามีบทบาทอย่าง สำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ นับแต่ตื่นนอนจนเข้านอนอีกครั้ง ทั้งยังมีอิทธิพลต่อการดำรง ชีวิต ต่อแนวคิด สร้างประชามติให้เกิดขึ้นในสังคม เฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวชี้นำให้คนมีความเห็น ไปในทิศทางเดียวกันกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อผู้พบเห็นแล้ว เกิดความรู้สึกหรือ อารมณ์ร่วมได้ การถ่ายภาพจึงมีประโยชน์อย่างมหาศาลกับสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งอาจจะสรุปอย่าง กว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. เป็นสื่อในการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง ตามความหมายนี้หมายถึงเฉพาะการ ใช้ภาพถ่ายในการสื่อความหมายเพื่อบอกหรืออธิบายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเป็นไป ตาม ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น อาจเป็นภาพในหน้าหนังสือพิมพ์ วารสาร ที่เสนอข่าว หรือเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้ดูได้เข้าใจ รวมไปถึงภาพในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ภาพวัสดุอุปกรณ์ กลไกต่าง ๆ ที่ ต้องการสื่อให้เห็นรูปร่าง ลักษณะที่ถูกต้อง หรือแม้แต่ภาพที่ใช้ในวงการศึกษา ที่มีจุดมุ่งหมายใหญ่เพื่อ ให้ผู้ดูรู้และเข้าใจเพิ่มมากขึ้นกว่าการอ่าน เช่น ภาพขั้นตอนการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่สลับซับซ้อน ภาพถ่าย X-ray ที่ใช้ในวงการแพทย์ หรือภาพถ่ายที่ใช้การตัดสินเกมกีฬาที่ไม่สามารถตัดสินผลได้ด้วย ตาเปล่า อาจเนื่องจากเข้าเส้นชัยพร้อมกันหรือสูสีกันมาก

2. เป็นการบันทึกข้อมูลเรื่องราว เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นการถ่ายทอด ข้อมูล ซึ่งบางครั้งอาจจัดเก็บในลักษณะของไมโครฟิล์ม ภาพถ่ายในลักษณะนี้มีความสำคัญต่อการ สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของคนในสังคมและเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นเรื่องราว ต่างๆ ในวงการศึกษา เช่นภาพวัด ปราสาท ราชวัง สถานที่ บุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ หนังสือต่างๆ เรามักพบเห็นภาพถ่ายในลักษณะนี้จากนิทรรศการภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์

3. เป็นการสื่อความหมายในแง่ของความบันเทิง ภาพถ่ายประเภทนี้เป็นภาพที่แสดง ความสวยงาม เช่นภาพดอกไม้ วิวทิวทัศน์ สถานที่ ภาพบันทึกการท่องเที่ยว ภาพถ่ายครอบครัว เรื่องราว ที่สนุกสนานพึงพอใจ ปัจจุบันมีการใช้ภาพเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งวารสาร นิตยสารหนังสือพิมพ์ โปสเตอร์เชิญชวน สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ แม้กระทั่งการพิมพ์ภาพถ่ายลง ในบรรจุภัณฑ์ ต่าง ๆ รวมไปถึง วีดิโอ ที่ดูจากโทรทัศน์เป็นประจำและภาพยนตร์ทั่วไปล้วนแต่เป็นรูปแบบของการใช้ภาพ ในการสื่อความหมายโดยเฉพาะในแง่ของความบันเทิง

4. เป็นการสื่อให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ภาพถ่ายในลักษณะนี้เป็นภาพศิลป์ ที่มีคุณค่า ซึ่งช่างภาพผู้ถ่ายพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้ดูภาพเกิดอารมณ์และ ความรู้สึกคล้อยตามที่ช่างภาพต้องการ ผู้ถ่ายภาพจะพยายามหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพในลักษณะการให้ ข้อมูลจริง หากมุมมองภาพที่เป็นจริงดูไม่สวยงามไม่สื่อความรู้สึกทางอารมณ์ที่ต้องการ ช่างภาพจะ พยายามเลือกมุมอื่น หรือรอจังหวะเวลาให้ได้ภาพที่ต้องการ การถ่ายภาพประเภทนี้ ผู้ถ่ายจะต้องเป็น ผู้ที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความพยายามอย่างมาก

จะเห็นได้ว่าช่างภาพกับการถ่ายภาพนั้นมีความสำคัญมากขึ้น และในปัจจุบันช่างภาพก็นำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการถ่ายภาพมากขึ้น เพื่อให้ภาพที่ออกมาดูสวยและสามารถสะท้อนมุมมองของภาพนั้นได้ด้วย

Powered by WordPress | Theme by RoseCityGardens.com